การตรวจพิเศษทางรังสี Upper GI Study
Upper GI Study
คือ การตรวจพิเศษทางรังสีของทางเดินอาหารส่วนต้น ตั้งแต่ Pharynx, Esophagus, Stomach และ Duodenum โดยดื่มสารทึบรังสีในระหว่างการตรวจและบันทึกภาพส่วนต่างๆ
ข้อบ่งชี้ในการตรวจ
Abdominal pain, GI bleeding, Peptic ulcer, Varices, Malignancy, Mass
ข้อระวัง
- คนไข้ Gut obstruction ไม่ทำการตรวจ
- คนไข้ Gut perforation ใช้ water soluble contrast media
การเตรียมตัวผู้ป่วย
รับประทานอาหารอ่อนๆ ก่อนตรวจ 2 วัน, NPO 6-8 ชั่วโมง, งดสูบบุหร่และเคี้ยวหมากฝรั่งหลังที่ยงคืน, ผู้ป่วยที่ท้องผูกให้ทานน้ำมันละหุ่ง 30 มล. ก่อนนอนในคืนก่อนตรวจ
เทคนิคการตรวจ (Double Contrast)
- Upright ท่า LPO ให้ผู้ป่วยกลืนแล้วทำการ Spot Esophagus และ EG junction
- Supine ให้ผู้ป่วยหมุนรอบตัวเองประมาณ 3 รอบไปทางซ้าย Spot Fundus/Barium Fill, Boby/Air Fill
- Supine LPO Spot Gastic or Antrum, Duodenum bulb/Air Fill
- Prone Spot Fundus/Air Fill, Body Antrum/Barium Fill
- Prone RAO Spot Duodenum bulb,C loop/Braium Fill
- Overhead ท่า AP และ LPO
ตัวอย่างของผู้ป่วยที่ทำ Upper GI Study ที่แพทย์อ่านผล Negative
ตัวอย่างผู้ป่วย Upper GI ในรายของเด็ก ที่เพิ่งเกิด
ไหนๆก็เอาเด็กมาลงแล้ว ก็ขอนอกเรื่องเลยละกัน
ภาวะฉุกเฉินที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารในเด็ก
1. Meconium Peritonitis
อาการและอาการแสดง
- เด็กจะมีอาการ ท้องอืดตั้งแต่แรกคลอด คลำก้อนในท้องได้ หน้าท้องบวมแดง
- อาเจียนหลังกินนม อาเจียนสีเขียว
ภาพเอกซเรย์ จะมีลักษณะของลำไส้อุดตัน และที่สำคัญที่พบได้คือ มี calcification อยู่ทั่วๆท้องหรือที่ scrotum
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด
- มีภาวะลำไส้อุดตัน - มี free air
- คลำได้ก้อนในท้อง - มี peritonitis , หน้าท้องแดง แข็ง
อัตรารอด 60 %
2. Necrotizing Enterocolitis (NEC)
- พบในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักแรกคลอดน้อย
- เด็กมีภาวะ fetal distress และ apgar score ต่ำ
อาการอาการแสดง
- เด็กจะมีท้องอืด ถ่ายอุจจาระเป็นสีแดงดำ อาเจียนเป็นสีเขียว มีไข้ ซึม ซีด เกร็ดเลือดต่ำ
- ในรายที่เป็นรุนแรง จะมีหน้าท้องแดงแข็ง ท้องอืดมาก มีภาวะ severe metabolic acidosis
ภาพเอกซเรย์ จะพบ pneumatosis intestinalis บางรายอาจมี free air หรือ portal vein gas
CBC จะมี anemia , thrombocytopenia
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด
1. peritonitis
2. free air
3. intestinal obstruction
4. sepsis
3. Anorectal Malformation (Imperforate Anus)
แบ่งเป็น 3 ชนิด
1. low type
2. intermediate type
3. high type
อาการและอาการแสดง
- ไม่มีรูทวารหนัก - ไม่ถ่าย ขี้เทา ยกเว้นในรายที่มี fistula
- อาเจียน - ท้องอืดหลังกินนม
การรักษา
- ทำ anoplasty ในรายที่เป็นชนิดแบบ low type
- ทำ colostomy ในรายที่เป็นชนิดแบบ intermediate และ high type แล้วทำ PSARP เมื่อเด็กอายุครบ 1 ปีหรือ
น้ำหนัก ครบ 10 กิโลกรัม
4. Malrotation with midgut volvulus
- ภาวะที่ลำไส้มีการหมุน (rotation) ที่ผิดปรกติตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์ ทำให้ลำไส้มีการยึด (fixation) กับช่องท้องแบบ ผิดปรกติ ซึ่งทำให้ลำไส้มีโอกาสที่จะบิดหมุนได้ง่าย จะเกิดการขาดเลือดและเน่าตายได้
- เป็นภาวะที่ฉุกเฉินมากที่สุดทางศัลยกรรมเด็ก ที่จะต้องรีบทำการผ่าตัดรักษาโดยเร็ว เพราะลำไส้ที่บิดหมุน จะเกิf necrosis ได้ภายใน 6 – 12 ชั่วโมง ถ้ารักษาไม่ทัน จะต้องตัดลำไส้ที่เน่าตายทิ้งเป็นจำนวนมากซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาของ short bowel syndrome ได้
อาการและอาการแสดง
- พบในเด็กที่คลอดปรกติ น้ำหนักแรกคลอดปกติ แข็งแรงดี
- พบบ่อยในช่วงเด็กอายุ 1 เดือน - 1 ปี
- เด็กจะมีอาการปวดท้องกระทันหัน อาเจียนสีเขียว ท้องอืด ถ่ายเป็นเลือดแดง บางทีคลำก้อนได้ในท้อง
- ภาพเอกซเรย์ จะพบ ภาวะลำไส้อุดตัน หรือมีลมในลำไส้น้อย
- การทำ upper GI study จะพบ DJ junction อยู่ทางด้านขวาของกระดูกสันหลัง ลำไส้ที่เหลือส่วนใหญ่จะอยู่ทาง
ด้านขวา
4. Hirschsprung’s disease (Congenital megacolon)
- ภาวะที่ไม่มีปมประสาท (Ganglion cell) ที่ลำไส้ ทำให้ลำไส้ไม่มีการคลายตัว (relaxation)
- ส่วนใหญ่พบที่ rectosigmoid colon
อาการและอาการแสดง
- เด็กจะไม่ถ่ายขี้เทา ใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด - กินนมได้ปรกติ มีท้องอืดขึ้น
- ถ่ายอุจจาระเองไม่ได้ ต้องช่วยสวนถ่ายให้ด้วยสบู่หรือน้ำยาสวนถ่าย กินยาระบายแล้วไม่ถ่าย ท้องโตขึ้น
- บางรายมีลักษณะของลำไส้อุดตัน คือ อาเจียนและท้องอืด
- ในรายที่มีลำไส้ติดเชื้อ ( Enterocolitis ) จะถ่ายเหลวเป็นน้ำ กลิ่นเหม็น ท้องอืดตึง มีไข้สูง ซึมมาก
ตัวอย่างผู้ป่วยเด็กที่เป็น Hirschsprung’s disease ซึ่งทำ Barium Enema
6. Jejunoileal atresia
แบ่งเป็น 4 ชนิด
อาการและอาการแสดง
- ท้องอืด อาเจียนเขียว ถ่ายอุจจาระสีเขียวซีด
ภาพเอกซเรย์ มีลักษณะของลำไส้อุดตัน ลำไส้มีขนาดใหญ่ หรือมี free air
ความผิดปรกติของผนังหน้าท้อง
1. Gastroschisis
- ภาวะที่มีรูรั่วของผนังหน้าท้อง ทำให้มีลำไส้ไหลออกมานอกช่องท้อง
- รูรั่วมักพบทางด้านขวาของสะดือ เด็กยังมีสะดือปรกติ
- พบในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกคลอดน้อย
- เป็นลูกคนแรก ในมารดาที่อายุน้อย พบความผิดปรกติอย่างอื่นร่วมด้วยน้อย
แบ่งเป็น 2 ชนิด
1. perinatal ลำไส้ไม่บวมแข็งมาก
2. antenatal ลำไส้บวมมาก ขดติดกันเป็นก้อน แยกไม่ออกว่าเป็น ลำไส้ใหญ่หรือลำไส้เล็ก
การรักษาเบื้องต้น - คลุมลำไส้ด้วยผ้าหนาๆ พยายามอย่าให้เด็กตัวเย็น
-ใส่ NG tube ดูดเอา content ออกให้มากที่สุด
2. Omphalocele
- ภาวะที่มีความผิดปรกติในการสร้างผนังหน้าท้อง ทำให้มีการสร้างผนังหน้าท้องที่ไม่สมบูรณ์
- มักจะมีถุงบางๆคลุมลำไส้ไว้ ทำให้ลำไส้ไม่บวมและดูเหมือนปรกติ
- ยกเว้นในรายที่ถุงคลุมแตกออกขณะตั้งครรภ์ ทำให้ลำไส้แช่อยู่ในน้ำคร่ำเป็น เวลานาน จะทำให้ลำไส้บวมแข็งได้
เหมือน Gastroschisis
- มักจะพบว่ามีตับออกมาร่วมด้วย เพราะรูของผนังหน้าท้องส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่
- มีสายสะดืออยู่บนถุงที่คลุม
- เด็กมักคลอดครบกำหนด น้ำหนักแรกคลอดปรกติ และมักพบความผิดปรกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น โรคหัวใจพิการ
แต่กำเนิด
การตรวจพิเศษ Barium Enema
Barium enema
คือ การตรวจพิเศษทางรังสีของ ของลำไส้ใหญ่เพื่อดูความผิดปกติ โดยการสวนแบเรียมและลมเข้าไปทางทวารหนัก และบันทึกภาพส่วนต่างๆ
ข้อบ่งชี้ในการตรวจ
CA colon, Diverticulum/Diverticulosis, Mass, Lower GI Bleeding
ข้อระวัง
- คนไข้ Colon perforation ใช้ water soluble contrast media
- Severe diarrhea, Colonic obstruction
การเตรียมตัวผู้ป่วย
รับประทานอาหารอ่อนๆ ก่อนตรวจ 3-4 วัน, NPO 6-8 ชั่วโมง, งดสูบบุหร่และเคี้ยวหมากฝรั่งหลังที่ยงคืน, ผู้ป่วยที่ท้องผูกให้ทานน้ำมันละหุ่ง 30 มล. ก่อนนอนในคืนก่อนตรวจ , สวนทวารหนักด้วยน้ำสบู่ในตอนเช้า ก่อนตรวจ 30 นาที่
เทคนิคการตรวจ
- ปล่อย Barium เข้า Rectum ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายลง เมื่อ Barium ถึง Splenic flexer ให้หยุดปล่อย
- ให้ผู้ป่วยนอนหงานแล้ว บีบลมตามเข้าไป แล้วทำการ Flu. ดูเป็นช่วงๆจน Barium ถึง Cecum แล้ว Colon distend ดี
- เริ่ม Spot Rectum และ Sigmoid พยายามตะแคงผู้ป่วยให้ Sigmoid คลี่ออกให้มากที่สุด (เพราะบริเวณนี้เกิด Lesion บ่อย)
- จัดท่าให้ผู้ป่วยหัวสูง Spot Desending, Splenic flexor, Transverse, Hepatic flexor, Ascending และ Cecum/Barium Fill
- จัดท่าให้ผู้ป่วยหัวต่ำ Spot Cecum/Air Fill
- ถ่าย Overhead AP, Bilateral decubitus, Lateral rectum prone, PA, Post evacuation
ตัวอย่างผู้ป่วย Barium Enema ที่แพทย์อ่านผล Negativ
ขอบคุณข้อมูลจากเวปไซด์ โรงพยาบาลมหิดลค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น